รายงานตามติดเศรษฐกิจไทย อยู่กับโควิดในโลกยุคดิจิทัล ธันวาคม 2564 บทสรุปผู้บริหาร บทสรุ ปผู้บ ริ หาร บทสรุปผู้บริหาร การพัฒนาในระยะที่ผ่านมา จำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่พุ่งสูงขึ้นส่งผลกระทบอย่างหนักต่อการชะลอตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจในช่วง ไตรมาสที่ 3 ของปี พ.ศ. 2564 แต่ขณะนี้การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจได้เริ่มขึ้นแล้ว เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 3 หด ตัวร้อยละ -0.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว และหดตัวร้อยละ -1.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 (ปรับผลกระทบ ตามฤดูกาล) หลังจากเติบโตเพียงเล็กน้อยในครึ่งแรกของปี เมื่อเทียบกับ ประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค การหดตัวของ เศรษฐกิ จ ในไตรมาสที ่ 3 ของไทยนั ้ น สู ง สุ ด เป็ น อั น ดั บ สามรองจากเวี ย ดนาม (ร้ อ ยละ - 6.2) และมาเลเซี ย (ร้อยละ -4.5) ในขณะที่ฟิลิปปินส์และอินโดนีเซียมีการเติบโตที่แข็งแกร่งขึ้น1 โดยการบริโภคภาคเอกชนลดลงจากการ บริโภคสินค้าคงทนที่ลดลงมาก อุปสงค์จากภายนอกที่ลดลงและปัญหาด้านห่วงโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ในระดับโลก เป็นอุปสรรคต่อการส่งออกและนำเข้าปัจจัยการผลิตหลัก อย่างไรก็ตาม ตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจล่าสุด สะท้อนให้เห็นว่า กิจกรรมทางเศรษฐกิจเริ่มดีดตัวขึ้นในเดือนกันยายนและตุลาคม จำนวนผู้ติดเชื้อโควิดรายใหม่ลดลงเหลือเฉลี่ย ต่ำกว่า 8,000 รายต่อวัน (ณ กลางเดือนพฤศจิกายน) จากเดิมที่มีระดับสูงสุดมากกว่า 20,000 รายต่อวันเมื่อช่วงกลางเดือน สิงหาคม กิจกรรมการเคลื่อนย้ายได้เพิ่มขึ้นเกินระดับก่อนเกิดโรคระบาดท่ามกลางมาตรการควบคุมที่เริ่มผ่อนคลายลง ขณะเดียวกัน ตัวชี้วัดการบริโภคภาคเอกชน ความเชื่อมั่นผู้บริโภค และดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจ ล้วนปรับตัวสูงขึ้น ด้านความคืบหน้าในการฉีดวัคซีน การกระจายวัคซีนเร่ง ขึ้นตั้งแต่เดือนสิงหาคม โดยรัฐบาลกำลังดำเนินการเพื่อให้ บรรลุเป้าหมายในการฉีดวัคซีนร้อยละ 70 ของประชากรภายในสิ้นปีนี้ ธนาคารโลกคาดว่าเศรษฐกิจไทยจะเติบโตที่ร้อยละ 1.0 ในปี พ.ศ. 2564 ซึ่งไม่เปลี่ยนแปลงไปจากการประมาณ การที่ได้เผยแพร่เมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา การคาดการณ์นี้สะท้อนให้เห็นว่าการบริโภคของภาคเอกชนยังคงอ่อนแอ เนื่องจากผลกระทบของโควิด-19 และการคาดการณ์ว่าจำนวนนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศจะยังคงมีไม่มากนักจนถึง สิ้นปี พ.ศ. 2564 แม้ว่าจะมีการเปิดประเทศเมื่อไม่นานมานี้ ในทางกลับกัน การส่งออกสินค้า เป็นส่วนช่วยสนับสนุน การเติบโต สะท้อนถึงการฟื้นตัวของอุปสงค์ของโลก และคาดว่าการลงทุนจะขยายตัวอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ มาตรการการ ให้เงินเยียวยา การริเริ่มด้านสาธารณสุข โครงการฟื้นฟูเศรษฐกิจ และมาตรการสนับสนุนด้านการคลังในรูปแบบอื่นๆ ได้ช่วยหนุนอุปสงค์ของภาคเอกชน พร้อมทั้งสนับสนุนการบริโภคในกลุ่มครัวเรือนเปราะบาง และช่วยลดผลกระทบ ของวิกฤตความยากจนด้วย บัญชีเดินสะพัดยังคงขาดดุลอย่างต่อเนื่องตลอดสามไตรมาสแรกของปี พ.ศ. 2564 ดุลการค้าสินค้าเกินดุลสูงถึง ร้อยละ 7.0 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (GDP) ในไตรมาสที่ 3 ของปี พ.ศ. 2564 แต่การค้าบริการขาดดุล เพิ่มขึ้นจากร้อยละ -3.1 ของ GDP ในปีพ.ศ. 2563 เป็นร้อยละ -7.2 ของ GDP ในช่วงครึ่งแรกของปี พ.ศ. 2564 ซึ่ง ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการสูญเสียรายรับจากการท่องเที่ยวและค่าขนส่งที่เพิ่มขึ้น การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดที่เพิ่มขึ้น 1 อัตราการเติบโตเทียบรายปี นอกจากระบุเป็นอย่างอื่น 1 บทสรุ ปผู้บ ริ หาร ผนวกกับการไหลออกสุทธิของดุลบัญชีเงินทุนทำให้ดัชนีค่าเงินบาทและดัชนีค่าเงินที่แท้จริงอ่อนค่าลงตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2563 อย่างไรก็ตาม ความเชื่อมั่นจากนักลงทุน ที่เพิ่มขึ้นช่วยให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยตั้งแต่ปลายเดือน กันยายน พ.ศ. 2564 แม้ว่าทุนสำรองระหว่างประเทศจะลดลงตั้งแต่ต้นปี แต่ทุนสำรองดังกล่าวยังคงมีเพียงพอสำหรับ การนำเข้าราว 10 เดือนและสูงกว่าระดับหนี้ต่างประเทศระยะสั้นถึงสี่เท่า แม้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะเพิ่มขึ้น แต่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังคงอยู่ในระดับที่ควบคุมได้ ธนาคารแห่งประเทศไทยคง อัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.5 เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้ หลังจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปร่วง ลงสู่ร้อยละศูนย์เมื่อเดือนสิงหาคม ก็ได้ปรับเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 2.4 ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2564 เป็นผลมาจากปัจจัยฝั่ง อุปทาน เช่น ราคาน้ำมันในตลาดโลกที่สง ู ขึ้น และผลกระทบของน้ำท่วมต่อราคาอาหารสด อย่างไรก็ตาม อัตราเงินเฟ้อ พื้นฐานยังอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 0.2 และคาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปที่พุ่งสูงขึ้นจะเกิดขึ้นชั่วคราวเนื่องจากส่วนต่าง ระหว่างระดับเศรษฐกิจและระดับผลผลิตศักยภาพที่ติดลบสูง (ประมาณร้อยละ 5.0 ของผลผลิตที่ระดับศักยภาพ) ประกอบกับการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อ ระดับที่ใกล้เคียงกับปัจจุบัน ซึ่งต่างจากกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่อื่น ๆ เช่น ฟิลิปปินส์ บราซิล และตุรกีที่ได้รับแรงกดดันจากเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น ระบบการเงินโดยรวมยังคงมีเสถียรภาพ ในขณะที่ตัวชี้วัดคุณภาพสินทรัพย์ถดถอย และความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับ หนี้ภาคธุรกิจและหนี้ครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นยังคงมีนัยสำคัญ เงินทุนและสภาพคล่องส่วนเพิ่มของธนาคารพาณิชย์ยังคง อยู่สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ และความสามารถในการทำกำไรก็ เริ่มทรงตัวหลังจากลดลงอย่างมีนัยสำคัญในปี พ.ศ. 2563 อย่างไรก็ตาม ตัวชี้วัดคุณภาพสินทรัพย์ล่วงหน้าถดถอยลง โดยสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) เพิ่มขึ้นเป็น ร้อยละ 3.2 ของสินเชื่อรวม ณ สิ้นเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2564 นอกจากนี้ มาตรการช่วยเหลือทางการเงินหลาย มาตรการที่รัฐบาลนำมาใช้เยียวยาผลกระทบจากโควิด -19 อาจปกปิดจุดอ่อนที่แฝงอยู่ในคุณภาพสินเชื่อ โดยไม่ตั้งใจ ความเสี่ยงที่มากับระดับหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง ถึงเกือบร้อยละ 90 ของ GDP ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2564 อาจ รุนแรงขึ้นได้จากมาตรการผ่อนปรนวงเงินสินเชื่อต่อมูลค่าเพื่อการกู้ยืมชั่ วคราว โดยผู้กู้สามารถกู้ได้สูงสุดร้อยละ 100 ของมูลค่าบ้าน จนถึงสิ้นปีพ.ศ. 2565 จุดอ่อนทางการเงินของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ยังคงมีความ เสี่ยง ตามสัดส่วน NPL ในกลุ่ม SMEs นั้น ยังคงสูงกว่าร้อยละ 7.0 ในช่วงสามไตรมาสแรกของปีพ.ศ. 2564 ซึ่งสูงกว่า ระดับก่อนเกิดวิกฤตโควิด-19 ที่อยู่ระหว่างร้อยละ 4.5 ถึง 5.0 ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ขยายวงเงินสินเชื่อ ดอกเบี้ยต่ำสำหรับ SME จนถึงสิ้นปีพ.ศ. 2565 ในขณะที่ธุรกิจหลายแห่งได้เข้าสู่การปรับโครงสร้างหนี้ผ่านโครงการ โกดังพักหนี้ (Asset Warehousing) ปีงบประมาณพ.ศ. 2564 ดุลการคลังของรัฐบาลไทยขาดดุลเพิ่มขึ้น เป็นร้อยละ 8.7 ของ GDP อันเนื่องมาจาก มาตรการทางการคลังที่ใช้รองรับผลกระทบจากวิกฤตการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่เพิ่มขึ้น ขณะที่หนี้สาธารณะ เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 58.2 ของ GDP โดยการจัดเก็บรายได้สำหรับปีงบประมาณพ.ศ. 2564 ตลอดทั้งปีนั้นใกล้เคียงกับ ช่วงสองปีที่ผ่านมาที่ร้อยละ 17.7 ของ GDP ทั้งนี้ การใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเป็น ร้อยละ 26.4 ของ GDP เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 23.5 ในปีงบประมาณพ.ศ. 2563 และเพิ่มจากค่าเฉลี่ยที่ร้อยละ 20 ของช่วงระยะเวลา 3 ปี ระหว่างปีงบประมาณพ.ศ. 2560 - 2562 นอกจากนี้ การอนุมัติให้กู้นอกกรอบวงเงินงบประมาณภายใต้วงเงิน พ.ร.ก.ฯ 1.5 ล้านล้านบาท (ร้อยละ 2 บทสรุ ปผู้บ ริ หาร 9 - 9.3 ของ GDP) ที่ได้มีเพื่อใช้รองรับผลกระทบจากวิกฤตการแพร่ระบาดของโควิด -19 นั้น ในปีงบประมาณพ.ศ. 2564 รัฐบาลได้เบิกจ่ายไปแล้ว 6.8 แสนล้านบาท (ร้อยละ 4.2 ของ GDP) เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวจาก 3.0 แสนล้านบาท ที่ ได้เบิกจ่ายไปในปีงบประมาณพ.ศ. 2563 โดยส่วนที่เหลือคาดว่าจะเบิกจ่ายในปีงบประมาณพ.ศ. 2565 ทั้งนี้ เงินที่ เบิกจ่ายไปจนถึงปัจจุบันเกือบทั้งหมดอยู่ภายใต้มาตรการเยียวยาซึ่งเป็นรายจ่ายประจำมากกว่ารายจ่ายลงทุน เป็นผล จากการแพร่ระบาดระลอกที่ 2 และ 3 ของโควิด-19 ซึ่งทำให้กำหนดการสำหรับ การใช้มาตรการฟื ้นฟู ทางด้ า น เศรษฐกิจต้องเลื่อนออกไป และหันมาขยายมาตรการเยียวยาเพื่อช่วยบรรเทาทุกข์ให้ภาคครัวเรือนเกินกว่าที่วางแผนไว้ อัตราความยากจนคาดว่าจะยังทรงตัว แต่จากการสำรวจผ่านทางโทรศัพท์เมื่อไม่นานนี้พบว่าผลกระทบจากการ แพร่ระบาดของโควิด -19 มีความรุนแรงเป็นพิเศษต่อ กลุ่มเปราะบาง หลังจากอัตราความยากจนตามเส้นความ ยากจนที่มีรายได้ปานกลางระดับสูงที่ 5.5 ดอลลาร์สหรัฐต่อวัน (PPP ปีพ.ศ. 2554) เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 6.2 ในปีพ.ศ. 2562 เป็นร้อยละ 6.4 ในปีพ.ศ. 2563 นั้น อัตราความยากจนยังคงขยายวงกว้างไม่เปลี่ยนแปลงในปีพ.ศ. 2564 ในขณะที่คนยากจนเพิ่มขึ้นประมาณ 160,000 คน นับตั้งแต่เริ่มมีการแพร่ระบาด ทั้งนี้ มาตรการการคุ้มครองทาง สังคมและเศรษฐกิจที่ครอบคลุมได้ช่วยควบคุมไม่ให้ความยากจนเพิ่มขึ้น หากไม่มีมาตรการจากรัฐบาล คาดว่าความ ยากจนจะเพิ่มสูงขึ้นอีกร้อยละ 1.0 หมายความว่ามีคนกว่า 700,000 คน ที่ได้รับความช่วยเหลือให้ไม่ต้องตกสู่ความ ยากจน จากการสำรวจทางโทรศัพท์ 2,000 ราย ระหว่างเดือนเมษายนถึงมิถุนายน 2564 พบว่ากว่าร้อยละ 80 ของ ครัวเรือนทั้งหมด (ส่วนใหญ่เป็น ครัวเรือนที่มีรายได้ น้อย) ได้รับประโยชน์จากโครงการความช่วยเหลือฉุกเฉินของ รัฐบาล อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 60 ของครัวเรือนที่มีรายได้น้อยรายงานถึงภาวะขาดแคลนอาหาร การแก้ปัญหาตามที่ ได้รับ รายงาน ได้แก่ การลดอาหารและการบริโภคสิ่งที่ไม่ใช่อาหาร (nonfood consumption) การพึ่งพาความ ช่วยเหลือจากรัฐบาล การพึ่งพาเงินออม การมีส่วนร่วมในกิจกรรมสร้างรายได้เพิ่มเติม และการกลับไปทำการเกษตร หลังจากตกงานจากเขตเมือง อนาคตและความเสี่ยง ธนาคารโลกคาดว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจจะกลับสู่ระดับก่อนเกิดการแพร่ระบาดได้ในช่วงปลายปีพ.ศ. 2565 โดย มีความคืบหน้าในการฉีดวัคซีนและการกลับมาของนักท่องเที่ยวเป็นปัจจัย ในการสนับสนุน การฟื้นตัว โดย คาดการณ์ว่าอัตราการเติบโตของ GDP จะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 3.9 ในปีพ.ศ. 2565 และถึงร้อยละ 4.3 ในปีพ.ศ. 2566 หากสามารถรักษาอัตราการฉีดวัคซีนในปัจจุบัน (ประมาณ 750,000 โดสต่อวัน) และหากไม่มีการกลับมาระบาดของ โควิด-19 อีก โดยเศรษฐกิจจะได้แรงขับเคลื่อนจากการฟื้นตัวของกิจกรรมภาคบริการ ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคใน ประเทศและความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยวต่างชาติก็จะเพิ่มขึ้น จากปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ คาดว่าการบริโภคภาคเอกชน จะขยายตัวเกือบร้อยละ 4.0 ต่อปีในปีพ.ศ. 2565 และ 2566 ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเดิมที่คาดการณ์ไว้ในปีพ.ศ. 2564 ที่ร้อย ละ 1.0 โดยคาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติจะเพิ่มขึ้น เป็นเกือบ 7 ล้านคนในปีพ.ศ. 2565 โดยจะเพิ่มขึ้นอย่าง รวดเร็วในช่วงครึ่งหลังของปีและเพิ่มขึ้นอีกในปี พ.ศ. 2566 เป็นประมาณ 20 ล้านคนหรือประมาณครึ่งหนึ่งของระดับ นักท่องเที่ยวในปีพ.ศ. 2562 ทั้งนี้ คาดว่าการท่องเที่ยวจะช่วยส่งผลต่ออัตราการเติบโตของ GDP ได้ร้อยละ 2 ในปี 3 บทสรุ ปผู้บ ริ หาร พ.ศ. 2565 และร้อยละ 4 ในปีพ.ศ. 2566 เมื่อเปรียบเทียบกับปีพ.ศ. 2564 ในขณะที่ การส่งออกสินค้าคาดว่าจะช่วย ให้เศรษฐกิจเติบโตในปีพ.ศ. 2565 น้อยกว่าในปีพ.ศ. 2564 เนื่องจากอุปสงค์ทั่วโลกที่อ่อนตัวลง ขณะที่ มาตรการ สนับสนุนทางการคลังคาดว่าจะลดลง เนื่องจากมาตรการรับมือกับสถานการร์การแพร่ระบาดของโควิด -19 ส่วนใหญ่ ได้มีการดำเนินการไปแล้ว อัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะยัง สามารถควบคุมได้ ในขณะที่มีช่องว่างผลผลิตอยู่มากในปี พ.ศ. 2564 และ 2565 โดย คาดว่าในปีพ.ศ. 2564 และ 2565 GDP จะยังคงอยู่ในระดับต่ำกว่าศักยภาพ เงินเฟ้อจะยังคงอยู่ในระดับต่ำและค่อยๆ เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 1.3 ในปีพ.ศ. 2566 ซึ่งสะท้อนถึงอุปสงค์ในประเทศที่ซบเซาและการจำกัดผลกระทบจากราคา น้ำมันในตลาดโลก โดยอัตราเงินเฟ้อไม่น่าจะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ มีราคาที่สามารถบริหารจัดการได้คิดเป็นสัดส่วน ประมาณหนึ่งในสามของตะกร้า ของดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ทั้งนี้ คาดว่าจะยังคงใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย เพื่อรองรับการฟื้นตัว โดยคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับร้อยละ 0.50 ในปีพ.ศ. 2565 แม้หนี้สาธารณะคาดว่าจะเพิ่มขึ้น แต่ความเสี่ยงต่อความยั่งยืนทางการคลังยังคงสามารถจัดการได้ ผลจากการใช้ มาตรการเยียวยาและฟื้นฟูผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ของภาครัฐนั้น ส่งผลให้ คาดว่าหนี้คงค้าง สาธารณะจะเพิ่มขึ้นสูงสุดที่ร้อยละ 62.2 ของ GDP ในปีพ.ศ. 2565 ซึง ่ ยังอยู่ภายใต้เพดานหนี้สาธารณะที่ปรับ เพิ่มขึ้น จากร้อยละ 60 เป็น ร้อยละ 70 ของ GDP เมื่อไม่นานมานี้ แนวโน้ม หนี้สาธารณะยังคงสอดคล้องกับความยั่งยืน ทางการคลังระยะปานกลาง โดยพิจารณาจากช่วงอัตราการเติบโตของ GDP อัตราดอกเบี้ย และการขาดดุลการคลังที่ เหมาะสม ทั้งนี้ ความเสี่ยงด้านการคลังยังลดลงจากข้อเท็จจริงที่ว่าหนี้คงค้างส่วนใหญ่เป็นสกุลเงินบาท และโดยความ พร้อมของสภาพคล่องภายในประเทศที่เพียงพอรองรับต่อความต้องการในการรีไฟแนนซ์ของรัฐบาล ความเสี่ยงด้านต่ำต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจยังอยู่ในระดับสูง จากความไม่แน่นอนหลายประการ วิถีของการแพร่ ระบาดทั่วโลกนั้นยังคงคาดเดาไม่ได้ และโอกาสในการเกิดการแพร่ระบาดของโควิด -19 ระลอกใหม่ในประเทศไทยจะ ขึ้นอยู่กับความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องในการฉีดวัคซีน ประสิทธิผลของวัคซีนต้านโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ การดำเนิน มาตรการป้องกันอื่นๆ และมาตรการตรวจหาเชื้อ/แกะรอยผู้ติดเชื้อ รวมถึงผลกระทบจากการเปิดประเทศ นอกจากนี้ ยังมีความไม่แน่นอนที่สำคัญเกี่ยวกับ การปรับตัวของความต้องการด้านการท่องเที่ยวระหว่างประเทศว่า จะมีทิศทาง เป็นอย่างไรในระยะปานกลาง แม้จะอยู่ภายใต้สถานการณ์ที่มีการฉีดวัคซีนครบตามเกณฑ์และจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด- 19 สามารถควบคุมได้ก็ตาม แต่การหยุดชะงักของอุปทานและปัญหาคอขวดในด้านโลจิสติกส์อาจกลายเป็นปัจจัยที่ฉุด รั้งบริษัทไทยให้ไม่สามารถได้รับประโยชน์จากการฟื้นตัวของการค้าโลกได้อย่างเต็มที่ ถึงกระนั้น ก็ยังมีโอกาสด้านบวก จากการฟื้นตัวภายนอกประเทศที่แข็งแกร่ง และการสร้างสรรค์โอกาสใหม่ๆ ให้กับการค้าและการลงทุน ในตลาด บริการดิจิทัลที่ส่งเสริมห่วงโซ่คุณค่าระดับโลกที่มีความซับซ้อน พร้อมไปกับการขยายความต้องการสินค้าส่งออกของ ไทยให้กว้างขึ้น ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 นี้จะเป็นรอยแผลเป็นสำหรับผลิตภาพและการพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมของประเทศไทยไปอีก นาน การลงทุนที่ลดลงในปีพ.ศ. 2563 ทำให้ผลผลิตตามศักยภาพลดลง ส่งผลกระทบ 4 บทสรุ ปผู้บ ริ หาร ด้านลบที่รุนแรงขึ้นต่อประเด็นประชากรสูงวัยและการปรับเปลี่ยนปัจจัยการผลิตที่ ล่าช้า การสูญเสียงานและการปิด โรงเรียนจะส่งผลกระทบในระยะยาวต่อการสะสมทุนมนุษย์ ถึงแม้ว่าจะมีมาตรการขนาดใหญ่จากรัฐบาลที่สามารถช่วย ป้องกันการสูญเสียทุนมนุษย์ ขนานใหญ่เอาไว้ได้ ซึ่งตรงข้ามกับประเทศอื่นๆ แต่การปิดกิจการของธุรกิจและการเลิก จ้างพนักงานมีแนวโน้มที่จะทำให้ เกิดการสูญเสียสินทรัพย์อันมีค่าที่ไม่สามารถจับต้องได้ เช่น การจัดการและความรู้ ด้านเทคนิค ทักษะของพนักงาน และเครือข่ายและความสัมพันธ์ในที่ทำงาน แม้ว่าการลงทุนจะเริ่มฟื้นตัวในปี พ.ศ. 2564 และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่องไปจนถึงปี พ.ศ. 2565 แต่ระดับหนี้องค์กรและหนี้ครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นพร้อมกันอาจ ก่อให้เกิดความเสี่ย งในระยะยาว ซึ่งรวมถึงความเสี่ยงต่อภาคการเงิน เมื่อมาตรการผ่อนปรนที่มีอยู่สิ้นสุดลง ในทาง กลับกัน การชะลอการลงทุนที่มีประสิทธิผลของบริษัทอันเนื่องมาจากงบดุลที่อ่อนแอจะส่งผลให้ผลผลิตตามศักยภาพ ลดลงในระยะปานกลาง ดังนั้น เพื่อลดโอกาสในการเกิดแผลเป็น จากการแพร่ระบาดและจัดการกับความท้าทายเชิง โครงสร้าง จำเป็นต้องมีการเข้าแทรกแซงเพิ่มเติม ในบริบทนี้ การลงทุนในกิจกรรมเศรษฐกิจดิจิทัลจะเปิดโอกาสที่มีค่า ในการเพิ่มทั้งอุปสงค์และอุปทานในระยะสั้น ในขณะที่เพิ่มผลผลิต ตามศักยภาพอย่างถาวรผ่านการเพิ่มผลิตภาพและ ลดความขัดแย้งของตลาด ั ฟื้นฟูศักยภาพด้วยการยกระดับเศรษฐกิจดิจิทล การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้มีศักยภาพในการสนับสนุนการฟื้นตัวของประเทศไทยหลังการระบาดของโควิด-19 ไปพร้อมกับการส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันในระยะยาว มาตรการควบคุมการเดิน ทางในช่วงของการ ระบาดและพฤติกรรมการระมัดระวังได้เพิ่มการใช้เทคโนโลยีในผลิตภัณฑ์ดิจิทัลมากขึ้นรวมถึงการใช้บริการดิจิทัลใน รูปแบบต่าง ๆ โดยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ ในธุรกิจต่างๆ ช่วยส่งเสริมการค้าขายและผลผลิตที่เพิ่มขึ้น จากการ เชื่อมต่อธุรกิจต่างๆ โดยเฉพาะบริษัทใหม่ที่เพิ่งเข้าสู่ตลาดให้เชื่อ มต่อสู่เครือข่ายระดับโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพมาก ขึ้น นอกจากนี้ การค้าดิจิทัลเป็นช่องทางที่สำคัญสำหรับกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย (MSMEs) ในประเทศไทย ที่ช่วยลดต้นทุนการทำธุรกรรมและช่วยให้ผู้ประกอบการรายย่อยสามารถเข้าถึงตลาดใหม่ได้ นอกจากนี้ เทคโนโลยีด้านนวัตกรรมทางการเงินยังเปิดโอกาสให้ MSMEs สามารถเข้าถึงแหล่งเงินได้ง่ายขึ้นซึ่งช่วยลด ข้อจำกัดด้านการเงินให้กับผู้ประกอบการเหล่านี้ได้ ในขณะเดียวกัน รัฐบาลไทยได้แสดงเจตจำนงค์อย่างแรงกล้าที่จะ ผลักดันวาระดิจิทัลภายใต้นโยบายอุตสาหกรรม 4.0 ิ ัล แต่ยังมีอีกหลายสิ่งที่สามารถดำเนินการได้เพื่อพัฒนาบริการดิจิทัลและธุรกิจดิจท ความพยายามในการส่งเสริมการแข่งขันและสร้างสภาวะแวดล้อมในการประกอบธุรกิจที่เป็นธรรมนั้นมีความ จำเป็นเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันของตลาดและเพิ่มความสามารถในการทำงานร่วมกันของระบบ ดิจิทัล ตลาดบริการดิจิทัลของประเทศไทยมีความเข้มข้นสูงจากการที่ตลาดการค้าดิจิทัลถูกครอบงำโดยผู้เล่นรายใหญ่ สองราย เพื่อเป็นการลดอุปสรรคในการเข้าสู่ตลาดดิจิทัล อาจต้องลดความซับซ้อนของกฎระเบียบด้านดิจิทัลลงและ ออกแบบเพื่อส่งเสริมให้บริษัทขนาดเล็ก เข้ามามีส่วนร่วม นอกจากนี้ การควบรวมกิจการที่เพิ่งเกิดขึ้น ได้ชี้ให้เห็นถึง 5 บทสรุ ปผู้บ ริ หาร โอกาสที ่ หน่ ว ยงานกำกั บดู แลจะต้ องเข้ า มาดู แลกฎระเบี ย บข้ อบั งคั บ ใกล้ ชิ ด ยิ ่ งขึ ้ น ในขณะเดี ย วกั น การขาด ความสามารถในการทำงานร่วมกันระหว่างระบบการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ได้จำกัด ความก้าวหน้า ของตลาด บริการดิจิทัล กฎระเบียบที่ส่งเสริมการแข่งขันจะช่วยลดโอกาสในการใช้อำนาจทางการตลาดในทางที่ผิด และส่งเสริม การทำงานร่วมกันข้ามแพลตฟอร์ม ในขณะที่กลไกส่งเสริมความโปร่งใสและขยายการเข้าถึงข้อมูลของธุรกิจสามารถ ช่วยกระตุ้นนวัตกรรม และส่งเสริมการเข้ามาของบริษัทใหม่ นอกจากนี้ การขยายข้อกำหนดเพื่อป้องกันการกักตุน คลื่นความถี่จะเพิ่มคุณภาพของบริการอินเตอร์เน็ตบรอดแบนด์อีกด้วย นอกจากนี้ ความพร้อมของทักษะดิจิทัลพร้อมกับความสามารถในการจัดการและบริหารองค์กรจะช่วยส่งเสริมการ เปลี่ยนแปลงสู่ยุคดิจิทัล ทักษะดังกล่าวมีความต้องการสูง แต่ขาดอุปทานยังไม่เพียงพอและทักษะที่นายจ้างต้องการ แต่ลูกจ้างมีไม่ตรงกันส่งผลให้การจัดสรรทักษะที่มีอยู่ไม่เพียงพอ ตัวอย่างเช่น ภาคเอกชนต้องการให้พนักงานที่ได้รับ การฝึกอบรมด้านการจัดการข้อมูล การออกแบบประสบการณ์ผู้ใช้ เทคโนโลยีระบบบูรณาการ คลาวด์คอมพิวติ้ง และ อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (IoT) แต่วิชาเหล่านี้ไม่ได้ ถูกบรรจุอยู่ในหลักสูตรการศึกษา (สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนา ประเทศไทย 2561) การนำมุมมองของภาคเอกชนมาประกอบการออกแบบหลักสูตรการศึกษาเพิ่มขึ้นจะสามารถช่วย ให้มั่นใจได้ว่าการเรียนการสอนและฝึกอบรมจะสอดคล้องกับความต้องการของนายจ้าง ไปพร้อมกับการปรับปรุงข้อมูล การตลาด และบริการจัดหางานจะสามารถช่วยลดทักษะที่ไม่ตรงกันได้ ท้ายที่สุด การเพิ่มทักษะและการปรับทักษะ ของแรงงานที่มีอยู่จะช่วยเพิ่มโอกาสในการเพิ่มพูนทักษะกำลังแรงงานที่มีอยู่ และลดการว่างงานได้ การเพิ่มช่องทางการเข้าถึงแหล่งเงินทุนด้านนวัตกรรมจะช่วยเพิ่มความสามารถของบริษัทต่างๆ โดยเฉพาะ SMEs ในการใช้รูปแบบธุรกิจใหม่ๆ และเทคโนโลยีดิจิทัล ปัจจุบัน กองทุนร่วมลงทุนและนักลงทุนอิสระที่มาลงทุนแบบเน้น คุณค่า (Angel Investor) ในภูมิภาค ยังคงเข้ามาลงทุนใน Startup ของไทยค่อนข้างน้อย ทำให้ Startup ในไทยยัง ไม่สามารถเข้าถึงผู้บริโภค ตลาด องค์ความรู้ และการสร้างเครื่อข่ายในระดับภูมิภาค นอกจากนี้ เงินทุนจากภาครัฐใน การส่งเสริมนวัตกรรมก็มีแนวโน้มมุ่งเป้าไปที่บริษัทขนาดเล็ก และไม่ครอบคลุมถึงกลุ่มบริษัทขนาดกลางที่เติบโตเกิน กว่าขั้นตอนบ่มเพาะไปแล้ว การสำรวจ SMEs โดยธนาคารแห่งประเทศไทย ประจำปีพ.ศ. 2563 เปิดเผยว่าเทคโนโลยี ที่มีต้นทุนสูง การขาดงบการเงินที่น่าเชื่อถือ และอัตรากำไรที่ต่ำ ทำให้ความสามารถในการเข้าถึงเงินทุนของพวกเขา ลดลง การให้ ก ู ้ ย ื ม เงิ น ระหว่ า งบุ ค คลทั ่ ว ไปผ่ า นแพลตฟอร์ ม ออนไลน์ (P2P) และการระดมทุ น สาธารณะ (Crowdfunding) จะเป็ น การเปิ ด โอกาสเพื ่ อช่ว ยลดข้อจำกัด เหล่ านี้ ลง กรอบกฎหมายที ่เป็ นหนึ ่ง เดี ยวและการ ลงทะเบียนหลักประกันจะช่วยเสริมความแข็งแกร่งของระบบธุรกรรมที่ปลอดภั ย สามารถขยายระบบการรายงาน สินเชื่อให้ครอบคลุมบริษัทต่างๆ ได้มากขึ้น และสุดท้าย นโยบายสำหรับการธนาคารแบบเปิดที่มีการออกแบบเป็น อย่างดีจะช่วยส่งเสริมการเติบโตด้านการจัดหาเงินทุนสำหรับนวัตกรรมได้ 6 บทสรุ ปผู้บ ริ หาร การพัฒนาในระยะที่ผ่านมา และแนวโน้มอนาคตในระยะสั้น รูปที่ ES 1: ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2564, การฟื้นตัวของอัตราการ รูปที่ ES 2: …และปั่นป่วนโมเมนตัมของการเติบโตรายไตรมาสที่ เติบโตของไทยต้องสะดุดจากการระบาดของสายพันธุ์เดลต้า… อ่อนอยู่ก่อนแล้ว (% เปลี่ยนแปลงเทียบกับปีก่อนหน้า) (% เปลี่ยนแปลงเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า, ปรับผลกระทบตามฤดูกาล) 10.0 8.0 6.7 7.6 6.0 5.0 4.0 2.0 0.5 0.2 0.1 0.94 0.2 0.0 0.0 -0.3 -2.0 -1.5 -1.1 -2.1 -2.6 -4.0 -5.0 -4.2 -6.0 -6.4 -8.0 -10.0 -10.0 -9.4 -12.0 -12.1 -15.0 -14.0 Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 Q3 Q4f Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 Q3 Q4f 2018 2019 2020 2021 2018 2019 2020 2021 ที่มา: สศช. ที่มา: สศช. หมายเหตุ: f คือ ค่าประมาณการ หมายเหตุ: f คือ ค่าประมาณการ รูปที่ ES 3: อุปสงค์ภายในประเทศที่เบาบางและอุปสงค์ระดับโลกที่อ่อนตัว รูปที่ ES 4: … มาตรการรองรับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ลงฉุดการเติบโตในไตรมาส 3 … ั สำคัญ ได้เพิ่มการขาดดุลการคลังขึ้นอย่างมีนย (จุดร้อยละเทียบกับปีก่อนหน้า) (สัดส่วนต่อ GDP) 15.0 35.0 0.0 10.0 30.0 -1.6 26.4 -1.8 -2.1 -2.0 23.5 25.0 5.0 19.9 19.9 20.1 18.1 18.3 17.9 -4.0 20.0 17.8 17.7 0.0 15.0 -5.6 -6.0 -5.0 10.0 -8.0 5.0 -8.7 -10.0 - -10.0 -15.0 FY 2017 FY 2018 FY 2019 FY 2020 FY 2021 Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 Q3 Central Government_Revenue (GFS) 2018 2019 2020 2021 Central Government: Expenditiure (GFS) Private Consumption Public Consumption Investment Change in inventories Central Government: Surplus/Deficit (GFS), RHS Net Exports GDP Growth ที่มา: สศช.; การคำนวณของเจ้าหน้าที่ธนาคารโลก ่ า: สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง ทีม 7 บทสรุ ปผู้บ ริ หาร รูปที่ ES 5: การวัดอุตสาหกรรมการผลิตล่าสุดพบว่ามีการดีดตัว รูปที่ ES 6: ...แต่คาดว่าการฟื้นตัวจะยืดเยื้อและมีช่องว่าง ขึ้น… ผลผลิตที่ติดลบไปจนถึงปีพ.ศ. 2566 (ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ: 50+ แสดงการขยาย) (ล้านล้านบาท) 11.5 GDP projection and Output gap 60 Millions 55 11.0 50 45 10.5 40 35 10.0 30 25 9.5 Apr-20 May-20 Sep-20 Nov-20 Apr-21 May-21 Sep-21 Feb-20 Aug-20 Feb-21 Aug-21 Jan-20 Mar-20 Oct-20 Jan-21 Mar-21 Oct-21 Jul-20 Dec-20 Jul-21 Jun-20 Jun-21 9.0 2014 2015 2016 2017 2018 2019 2020 2021 2022 2023 Indonesia Malaysia Philippines Vietnam China Thailand Potential GDP - Level GDP Projection - Level ที่มา: รายงานธนาคารโลกอัพเดทเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียตะวันออก ที่มา: การคำนวณของเจ้าหน้าที่ธนาคารโลก และแปซิฟก ิ ตุลาคม 2564; Haver Analytics ตาราง ES 1: ดัชนีชี้วัดเศรษฐกิจมหภาค 2562 2563 2564f 2565f 2566f อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจทีแ ่ ท้จริง 2.3 -6.1 1.0 3.9 4.3 การบริโภคภาคเอกชน (ณ ราคาคงที ่) 4.0 -1.0 1.0 3.8 3.9 การบริโภคภาครัฐ 1.7 0.9 2.5 2.0 -2.2 การสะสมทุนเบื้องต้น 2.0 -4.8 5.6 6.0 3.6 การส่งออกสินค้าและบริการ -3.0 -19.4 8.5 10.8 8.9 การนำเข้าสินค้า และบริการ -5.2 -13.3 16.6 6.3 6.7 อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจทีแ ่ ท้จริง ภาคเกษตรกรรม (ณ ราคาปั จจัยการผลิตคงที่) -0.6 -3.4 1.1 3.8 4.2 ภาคอุตสาหกรรม 0.1 -5.3 1.4 1.3 1.2 ภาคบริการ 4.5 -6.9 8.8 4.8 3.9 เงินเฟ้อ (ดัชนีราคาผู้บริโภค) 0.71 -0.85 1.1 1.4 1.3 ดุลบัญชีเดินสะพัด (สัดส่วนต่อ GDP) 7.0 3.2 -3.4 0.5 2.3 ดุลการคลัง (สัดส่วนต่อ GDP) -2.1 -5.6 -7.8 -4.5 -1.0 หนี้สาธารณะ (สัดส่วนต่อ GDP) 41.0 49.4 58.8 62.2 61.6 ที่มา: สศช.; การคำนวณของเจ้าหน้าที่ธนาคารโลก 8